กรณีศึกษา 23andMe ปฏิวัติธุรกิจสุขภาพด้วยชุดตรวจ DNA
ปัจจุบัน 23andMe เป็นแพลตฟอร์ม crowdsourced ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับการวิจัยทางพันธุกรรม และมีคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านพันธุกรรมของมนุษย์ส่วนบุคคลที่ใหญ่สุดในโลก
โดยลูกค้ากว่า 80% ยินดีที่จะให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในอนาคต ทั้งธุรกิจดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตอาหาร ธุรกิจอาหารเสริม ธุรกิจยารักษาโรค แม้แต่ธุรกิจประกันสุขภาพ
แพลตฟอร์มดังกล่าวยังสนับสนุนกลุ่ม 23andMe Therapeutics ซึ่งปัจจุบันดำเนินโครงการค้นคว้ายาที่มีรากฐานมาจากพันธุศาสตร์ของมนุษย์ในหลากหลายด้านของโรค ซึ่งรวมถึงด้านเนื้องอกวิทยา ระบบทางเดินหายใจ และโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกเหนือไปจากด้านการรักษาอื่นๆ
23andMe, Inc. เป็นบริษัทวิจัยและวิจัยด้านพันธุกรรมผู้บริโภคชั้นนำ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 พันธกิจของบริษัทคือการช่วยให้ผู้คนเข้าถึง เข้าใจ และได้รับประโยชน์จากจีโน (genome) มมนุษย์
[ จีโนม (genome) คือ ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นใช้ในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง อยู่บนดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จีโนม คือ ชุดของดีเอ็นเอ (DNA) ทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในนิวเคลียสของทุกๆ เซลล์นั่นเอง เป็น"แบบพิมพ์เขียว" (blueprint) ของสิ่งมีชีวิต จีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแตกต่างกัน : ที่มา www.thaibiotech.info ]
โดยอาศัยเทคโนโลยี Artificial Intelligence และ DNA Analysis Technologies ในการไขความลับที่ซ่อนอยู่ใน DNA ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยโครโมโซม 23 คู่ และตัวเลข 23 นี้ ก็เป็นที่มาของชื่อบริษัทนั่นเอง 23andMe เป็นผู้บุกเบิกการเข้าถึงข้อมูลทางพันธุกรรมโดยตรงในฐานะบริษัทเดียวที่มีใบรับรองจาก FDA หลายฉบับสำหรับรายงานสุขภาพทางพันธุกรรม
ลูกค้าสามารถสั่งซื้อชุดทดสอบพันธุกรรมได้ที่เว็บไซต์ www.23andme.com
จากนั้นก็ส่งตัวอย่างน้ำลายกลับไป
และจะได้รับผลการตรวจหลังจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์
ลูกค้าจะได้รับผลการรายงานสุขภาพและลักษณะเฉพาะตัวที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นข้อมูลความเกี่ยวพันทางเครือญาติและบรรพบุรุษ
ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์และโมบายแอปพลิเคชันของ 23andMe
ลูกค้าจะได้รับข้อมูลเชิงลึกของตนเอง ในด้านเชื้อชาติ บรรพบุรุษ เผ่าพันธุ์ ที่มาในอดีต และข้อมูลด้านสุขภาพ
ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ 23andMe ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้
[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]
การประเมินธุรกิจใหม่
"การดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลและการพัฒนาการรักษาผ่านพันธุศาสตร์ของมนุษย์"
ธุรกิจสุขภาพส่วนใหญ่จะเน้นที่ปลายเหตุ คือ ต้องรอให้เป็นโรคก่อนแล้วค่อยรักษา 23andMe นำเสนอรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เน้นการป้องกันเป็นหลัก จากผลการตรวจ DNA เพื่อหาแนวทางดูแลสุขภาพ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มีความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]
นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
นำเสนอรูปแบบการตรวจ DNA แบบถึงผู้บริโภคโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง เช่น โรงพยาบาล หรือคลินิก ที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
ผู้บริโภคสามารถทดสอบ DNA จากที่บ้าน และเข้าถึงข้อมูลทางพันธุกรรมได้ด้วยตนเอง ผู้บริโภคแต่ละคนจึงทราบถึงคำแนะนำ วิธีการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหาร และการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ได้ จากรายงานผลที่ 23andMe จัดส่งให้ทางเว็บไซต์
[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]
ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
ในช่วงแรก 23andMe จำหน่ายชุดตรวจ DNA เป็นหลัก จากรูปแบบธุรกิจเช่นนี้ ส่งผลให้ต้นทุนทางการวิจัยและปฏิบัติการสูงมาก ราคาจำหน่ายของชุดตรวจ DNA สูงถึง 999 ดอลลาร์สหรัฐ ลูกค้าที่ใช้บริการจึงอยู่ในวงจำกัด
ต่อมา แอนน์ โวจซิกกี (Anne Wojcicki) CEO ของ 23andMe ได้เล็งเห็นว่า หากดำเนินธุรกิจต่อไป และมีกลุ่มตัวอย่างที่มากพอสำหรับเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ของรหัสพันธุกรรมมนุษย์ จะวิเคราะห์แนวโน้มสุขภาพโดยรวมของประชากรได้ และมีรายละเอียดมากขึ้น จำแนกเป็น ช่วงอายุ เพศ เชื้อชาติ รายประเทศ ทำให้ต่อยอดธุรกิจไปสู่การให้บริการข้อมูลทางสุขภาพและการแพทย์ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าการจำหน่ายแค่ชุดตรวจ DNA แบบเดิมเป็นอย่างมาก
จากข้อมูลพบว่า ลูกค้ามากกว่า 80% ยินยอมที่จะให้ข้อมูลเพื่อใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆในอนาคต ด้วยการร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ 23andMe จึงได้ลดราคาชุดตรวจ DNA ลง จากเดิมที่มีราคาสูงถึง 999 ดอลลาร์สหรัฐ เหลือเพียง 99 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถขยายตลาดและเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้มากถึง 12 ล้านคน ใน 50 ประเทศทั่วโลก
[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]
ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน
การดูแลสุขภาพ การตรวจรักษาโรค และการทดสอบ DNA แบบดั้งเดิม
[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]
กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
Artificial Intelligence
DNA Analysis Technologies
[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]
วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
2008 : “Web-Based Personal Genome Service™ Outside U.S.
2009 : Free Online Community For Moms and Moms-to-Be
2012
: Acquire CureTogether, Inc.
: Open API to Developers
2016
: Enables Genetic Research for ResearchKit Apps
: Offers $99 Genetic Ancestry Service
: Genotyping Services for Research Grant Program
2021 : Acquire Lemonaid Health
[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]
ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
สร้างสมดุลระหว่างการมีพนักงานเพศหญิงและชายทำงานร่วมกันในตำแหน่งบริหารขององค์กร
ด้วยความเข้าใจในวิถีการดำรงชีพของมนุษย์ 23andMe สนับสนุนการมีนโยบายการทำงานต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของพนักงาน เช่น นโยบายวันหยุด 16 สัปดาห์ โดยไม่หักค่าแรง สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด ชาย หญิง หรือกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เพื่อการพักผ่อนและใช้วันหยุดกับครอบครัวอย่างเต็มที่
ขณะที่องค์กรหลายแห่งเลือกที่จะมีผู้นำในการบริหารส่วนต่าง ๆ ตามแรงผลักดันทางการเมืองภายในองค์กร (Internal Political Climate) แต่ที่ 23andMe นั้น เชื่อว่า การมีองค์กรกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก และ 23andMe เป็นหนึ่งในองค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้น ทีมบริหารงานในส่วนต่าง ๆ ควรจะเป็นบุคคลที่สามารถสะท้อนและเข้าใจถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้านั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี มากกว่าที่จะมองว่าเป็นฝ่ายไหน
คัดเลือกพนักงาน โดยพิจารณาจากค่านิยมหลัก (Core Value) ของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ ว่าเหมาะสมกับการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือไม่ รวมถึงดูผลจากการตรวจ DNA จาก 23andMe Test อีกด้วย
มีการดูแลพนักงานในระบบพี่เลี้ยง (Mentorship Program) เพื่อให้พนักงานใหม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กร สร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว
ด้วยความที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ 23andMe จึงให้ความสำคัญกับนโยบายการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขององค์กร มีคู่มือการปฏิบัติงาน (Handbook) ซึ่งมีการอัปเดตอยู่เสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับโลกแห่งความเป็นจริงที่ 23andMe กำลังเผชิญ
[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
มุ่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เน้นการสื่อสารที่ดี ชัดเจน กระชับ และมีประสิทธิภาพ
23andMe เปิดโอกาสให้พนักงานเสนอแนะแนวความคิด เพื่อการปรับปรุงวัฒนธรรมของบริษัท (Company Culture) ให้เหมาะสมกับทุกคนมากยิ่งขึ้น ข้อมูลทั้งหมด เช่น ข้อร้องเรียน ติชม และการตอบสนองจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทุกคนในองค์กรจะรับรู้รับทราบ เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
ยอมรับว่า ทุกคนล้วนมีความแตกต่างในแบบฉบับของตน และต้องปรับตัวเข้าหากันและกัน ตลอดจนหาจุดสมดุลในการทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง ส่งเสริมจุดเด่น และช่วยเหลือกันในการพัฒนาจุดด้อยเพื่อเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
พนักงานในองค์กรมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อการสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีความสุข ทั้งนี้ เพศสภาพ ภาระทางสังคม ภาระทางครอบครัว จะไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานที่ 23andMe แต่อย่างใด
เน้นการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลและหลักฐานเป็นหลัก (Evidence-based Decision)
Get to Yes or No, quickly. 23andMe มีวิถีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างว่องไว เพราะเชื่อว่า การเลือกที่จะไม่ตัดสินใจต่างหาก จะนำไปสู่ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เพียงแค่ยอมรับ เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น ปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น และลงมือปฏิบัติใหม่
[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
ร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ สถาบันการศึกษา บริษัทวิจัย บริษัทผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ บริษัทผู้ผลิตอาหาร บริษัทประกันสุขภาพ บริษัทด้านสุขภาพ โรงพยาบาล คลินิก ฯลฯ ในการนำข้อมูลที่ได้จากผลการทดสอบ DNA มาใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในอนาคต
เป็นพันธมิตรกับ Google ด้วยการที่ Google เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนใน 23andMe ในปี 2007 และปี 2009