กรณีศึกษา เนสท์เล่ (Nestle) จากธุรกิจอาหารสู่ผู้นำแพลตฟอร์มสุขภาพ
“ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็มีประชากรลดลง การเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพจึงเป็นทางรอดเดียวของธุรกิจอาหาร”
Kozo Takaoka - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Nestle Japan
ที่ผ่านมาได้ดำเนินการทำ E-Commerce จนทำให้มียอดขายจาก E-Commerce เป็นสัดส่วนสูงถึง 20% ในประเทศญี่ปุ่น และมีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจของเนสท์เล่ เพื่อสร้างการเติบโตด้านบริการด้านสุขภาพท่ามกลางความท้าทายในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและการลดลงของประชากรในหลายประเทศ
ด้วยเหตุนี้จึงรุกตลาดสินค้าสุขภาพ ด้วยการให้บริการแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ (Healthcare Platform) ผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า “Nestle Wellness Ambassador” แพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค เช่น ได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการที่มาจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบจากเลือดและ DNA ของแต่ละคน รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
"Nestle Wellness Ambassador" เป็นแพลตฟอร์มแบบบอกรับสมาชิก (Subscription Model) ที่นำเสนอการให้บริการต่าง ๆ รวมทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน เช่น ชาเขียว แมกนีเซียม แคลเซียม นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจครั้งใหญ่ของเนสท์เล่
ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ Nestle ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้
[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]
การประเมินธุรกิจใหม่
บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นผู้นำธุรกิจด้านโภชนาการ เพื่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี (Nutrition, Health and Wellness)
[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]
นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
ความสะดวกสบายในการซื้อผลิตภัณฑ์จากบริการ E-Commerce
คำแนะนำด้านโภชนาการ เพื่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เฉพาะบุคคล (Personalized)
[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]
ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
ค่าธรรมเนียมจาก E-Commerce
แพลตฟอร์มแบบบอกรับสมาชิก (Subscription Model)
[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]
ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน
การเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นผู้นำธุรกิจด้านโภชนาการ เพื่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี (Nutrition, Health and Wellness) โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดโครงสร้างต้นทุน ทั้งในส่วนของการผลิต การจัดซื้อ และงานบริหารส่วนกลาง
[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]
กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
E-Commerce และการตลาดดิจิทัล
การสร้าง Direct to Consumer Models
Artificial intelligence and DNA testing
การสร้างความสามารถในการแข่งขันใหม่ด้วยการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล
[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]
วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
2000 : เปิดตัวโครงการ Nestle GLOBE
2011 : เริ่มรูปแบบการทำ Direct-to-consumer (D2C) และ E-retail
2015 : เปิดตัวโครงการ Nestlé Wellness Club
2017 : เปิดตัวโครงการ Nestle Wellness Ambassador
[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]
ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
Nestle ได้นำระบบ GLOBE ซึ่งเป็น System Codification-Based Strategy เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญขององค์กรทั้งในแง่ของการค้นหาและแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งระบบ GLOBE นี้ พนักงานทุกคนภายใน Nestle ทั่วทั้งโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
GLOBE ได้ช่วยขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางข้อมูลให้กับ Nestle เป็นอย่างมาก และช่วยให้การเปลี่ยนองค์กรเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อให้ระบบ GLOBE ถูกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Nestle ได้มุ่งทำการสอน สร้างการเรียนรู้ให้กับพนักงานทุกคน ถึงวิธีการในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปลี่ยนวิธีการสื่อสารภายในองค์กรให้ง่ายขึ้น สะดวกมากขึ้น และเป็นไปอย่างไหลลื่นเพื่อประโยชน์การในการทำงาน และการมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี
มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มองเป้าหมายระยะยาว แทนการสร้างกำไรในระยะสั้นๆ
เปลี่ยนระบบโครงสร้างองค์กรแบบบนลงล่าง (Top-Down) สู่การ Empower พนักงานทุกระดับให้มีอิสระในการตัดสินใจ อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ให้การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บรรลุเป้าประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และเพิ่มคุณภาพในการให้บริการลูกค้าสูงสุด
แต่สิ่งที่สำคัญคือ Nestle กล้าที่จะยอมรับว่าโครงสร้างองค์กรเดิมที่เป็นแบบลำดับขั้น (Hierarchical) นั้นไม่เอื้อต่อการทำงาน และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรตนเองอย่างแท้จริง
[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
รื้อสิ่งเก่าๆที่ไม่ Work และกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ที่เป็นไปได้มากกว่า
ไม่ยึดติดกับรูปแบบการบริหารงานเดิมๆ การวัดผลแบบเดิมๆ ที่นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้วยังเป็นการบั่นทอนซึ่งกันและกัน โดยเปลี่ยนมาเป็นการแชร์ข้อมูลกันอย่างทั่วถึง และวัดผลให้คุณ ให้โทษโดยอิงจากความร่วมมือที่บุคคลมีให้กัน ระดับความสามารถในการพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และระดับการเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ข้อมูลต่างๆให้กับผู้อื่น
สร้างและมองคุณค่าในตัวพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งน้อยองค์กรที่จะสามารถทำได้จริง
มุ่งพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของทุกคนทั่วทั้งองค์กร
ยึดถือว่าการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด (Lifelong learning) และเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร
[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
ร่วมมือกับบริษัท Startup Genesis Healthcare และ Halmek Ventures
เป็นพันธมิตกับ Axa บริษัทประกันสัญชาติฝรั่งเศส
เป็นพันธมิตรกับ E-Marketplace ทั่วโลก