กรณีศึกษา Philips (ฟิลิปส์) จาก ผู้ผลิตหลอดไฟและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สู่ผู้นำเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก
Philips & Co ก่อตั้งขึ้นในปี 1891 ในเมือง Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดย Frederik Philips และ Gerard ลูกชายของเขา เมื่อตระหนักถึงโอกาสที่นำเสนอโดยการเปิดตัวหลอดไส้ไฟฟ้าที่คุ้มค่าและเชื่อถือได้ ต่อมา Phillips ก้าวสู่บริษัท Lighting Compamy ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าชั้นนำของโลก
ในช่วงปี 1980 Philips มีอัตรากำไรลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 1 และในปี 1990 บริษัทสูญเสียเงินไปมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ขาดทุนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเนเธอร์แลนด์)
ในช่วงทศวรรษ 1990 เนื่องจากสถานะของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำได้สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว จากบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านนวัตกรรม เปลี่ยนมาเป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดูล้าสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนแบ่งการตลาดลดลงทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2011 บริษัทขาดทุนสูงถึง 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต้องเลิกจ้างพนักงานมากกว่า 60,000 คน ขายธุรกิจ 40 แห่งออกไป และปิดโรงงานอีก 50 แห่ง
ในช่วงปี 1980 ฟิลิปส์ได้ดำเนินการกลยุทธ์ที่ผิดพลาดด้วยการกระจายการลงทุนมากเกินไป มีกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วย 11 แผนกและธุรกิจมากกว่า 120 แห่ง ซึ่งรวมถึงวิดีโอเกมด้วย มีผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากเกินไปที่มีตั้งแต่ หลายเตารีด เครื่องดูดฝุ่น แปรงสีฟัน และไมโครชิป
แม้ว่าจะมีความล้ำหน้าในในเทคโนโลยีบางอย่าง แต่ความสามารถในการทำกำไรที่น้อยเกินไป ส่งผลให้อัตรากำไรลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 1 และส่วนแบ่งการตลาดลดลงทั่วโลก
หลังจากขาดทุนเป็นประวัติการณ์ในปี ค.ศ. 1990 บริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานมากกว่า 60,000 คน และสูญเงินกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ฟิลิปส์ยังคงมีพนักงานมากเกินไปในช่วงกลางทศวรรษ 90 เมื่อเทียบกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกอื่นๆ อีกทั้งรายรับของบริษัทลดลง 14 เปอร์เซ็นต์
ฟิลิปส์ยังเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือด้วยการร่วมทุนกับผู้ผลิตโทรคมนาคม Lucent สิ่งนี้ล้มเหลวหลังจากผ่านไปหนึ่งปีและขาดทุนประมาณ 500 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล ฟิลิปส์ยังติดอยู่กับทีวีอะนาล็อก (CRT) เมื่อคู่แข่งผลิตจอภาพผลึกเหลว (LCD) ฟิลิปส์ได้เข้าสู่ตลาดทีวี LCD ช้าเกินไปและไม่สามารถแข่งขันกับผู้เล่นหน้าใหม่ทั้ง Samsung และ LG ได้ นั่นทำให้ฟิลิปส์ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกครั้ง หน่วยโทรทัศน์ของฟิลิปส์ขาดทุนมากกว่า 1,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ ซึ่งเรื่องราวทำนองนี้ได้เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของฟิลิปส์
ในปี 2009 ฟิลิปส์ได้ขายธุรกิจ 40 แห่งออกไป และปิดโรงงานอีก 50 แห่ง
เข้าสู่ยุคทรานส์ฟอร์ม
การทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ Phillips ดำเนินการภายใต้ภารกิจใหม่เปลี่ยนแปลงทั้งในระดับ Portfilio ของธุรกิจ, โมเดลธุรกิจ และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หมายถึงการปรับโครงสร้างใหม่อย่างสิ้นเชิง รวมถึงการออกจากธุรกิจเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ของบริษัทมาช้านาน
เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2011 Philips ได้ขายธุรกิจทีวี เสียง และวิดีโอ แยกแผนกไฟส่องสว่างของบริษัทใหม่ ซึ่งทำให้มีการเลิกจ้างคนงานหลายพันคน และขาดทุน 1,500 ล้านยูโร หรือประมาน 56,000 ล้านบาท ต่อมาได้มีการขายธุรกิจเครื่องใช้ในบ้านด้วยมูลค่าสูงถึง 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาน 150,000 ล้านบาท
รวมถึงได้จัดโครงสร้างใหม่ โดยนำทีมที่ทำงานที่แยกส่วนก่อนหน้านี้มารวมกันเพื่อนำไปสู่ การทำงานในรูปแบบที่เน้นการสร้างผลลัพธ์ของลูกค้า (Customer Outcome) สร้างความร่วมมือในระบบนิเวศ (Ecosystem Partnerships) และนำผู้มีความสามารถใหม่ๆ (Talent) มาใช้เพื่อยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยี ข้อมูล และซอฟต์แวร์
ฟิลิปส์ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ที่นำเสนอโซลูชันและบริการด้านการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ โดยใช้พลังของ Data และ AI ณ จุดที่ให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพ การป้องกันโรค การวินิจฉัย การรักษา และการดูแลภายหลังการรักษา
ฟิลิปส์ได้นำเสนอการดูแลสุขภาพที่มีความต่อเนื่อง
สิ่งนี้ช่วยดูแลสุขภาพของผู้ให้เส้นแบบบูรณาการด้วยปลอดภัย ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ด้วยการเชื่อมต่อจุดต่างๆ สำหรับลูกค้าและผู้บริโภค โดยสนับสนุนการไหลของข้อมูลที่จำเป็นแบบเรียลไทม์เพื่อใช้สำหรับการวินิจฉัยที่แม่นยำ การรักษา และการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึง การนำเทคโนโลยีผู้ดูแลเสมือน (Virtual Care) หรือ Telehealth มาใช้ จะช่วยผู้ให้บริการด้านสุขภาพมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของผู้คนให้มีสุขภาพดีและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น