กรณีศึกษา Ping An (ผิงอัน) จากธุรกิจประกัน สู่ผู้นำธุรกิจด้าน FinTech และแพลตฟอร์ม Healthcare อันดับ 1 ของโลก
Ping An เป็น 1 ใน 20 บริษัท ที่ทำ Digital Transformation ดีที่สุดในโลก ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จัดอันดับโดย Harvard Business Review โดยได้ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจประกันแบบดั้งเดิม มาเป็นยักษ์ใหญ่ Tech Company ของโลก พร้อมกับการเป็นกลุ่มบริษัทประกันที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ Ping An ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้
[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]
การประเมินธุรกิจใหม่
มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตในธุรกิจด้านการเงิน ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ Ping An ด้วยแนวคิด “Financial + Technology” และกลยุทธ์ Multiple-Ecosystem
[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]
นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
ขยายขอบเขตของธุรกิจด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปในระบบนิเวศ ทางธุรกิจทั้ง 5 ด้านได้แก่
บริการด้านการเงิน (Financial Services)
การดูแลสุขภาพ (Health Care)
ศูนย์บริการรถยนต์ (Auto Services)
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Services)
และบริการเมืองอัจฉริยะ (Smart City Services)
[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]
ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
บูรณาการกับโมเดลธุรกิจด้านการเงินด้วยแนวคิด “One Customer, Multiple Products, and One-Stop Services”
[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]
ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน
ระบบบริหารจัดการสําหรับธุรกิจการเงินแบบดั้งเดิม
[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]
กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
เพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อสร้าง “Finance + Ecosystem” เพื่อเป็นการ Transform และยกระดับธุรกิจหลักของ Ping An ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ การจัดการความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่าย มุ่นเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีใน 4 ด้าน ได้แก่ AI, Blockchain, Big Data และ Cloud Computing
[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]
วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
2008 : เริ่มเปลี่ยนรูปแบบบริษัทจากสถาบันการเงินมาเป็น Tech Company
2011 : Lufax ผู้ให้บริการ Online Internet Finance Marketplace
2014
: ก่อตั้ง Ping An Goog Doctor ต่อมาเป็นแพลตฟอร์ม ด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก
: ให้บริการ Ping An Auto Owner app ที่ใช้ระบบ AI และ Telematics ในการติดตามพฤติกรรมการขับรถบรรทุก ของคนขับ เพื่อประกอบการพิจารณาข้อเสนอการใช้ บริการของแต่ละคน
2015 : OneConnect แพลตฟอร์มด้าน FinTech
2016 : ลงทุนใน Autohome ด้วยมูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ เพื่อเข้าสู่ตลาดรถยนต์
2017 : พัฒนาโปรแกรมการให้สินเชื่อด้วย AI
[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]
ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
มีการบริหารจัดการแบบ Startup รวมถึงการนําหลักการ Failed Quickly, Learn from Mistakes เพื่อเปลี่ยนความ ล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นโครงการใหม่ที่มีโอกาสประสบความสําเร็จ ได้มากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ปีเตอร์ มา (Peter Ma) ผู้ก่อตั้ง และ CEO ของ Ping An ได้ ให้ เจสสิกา ถัน (Jessica Tan) มาเป็น Co-CEO เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจในการ Transform ธุรกิจโดยเฉพาะ
บริหารธุรกิจหรือโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นด้วยแนวคิด Portfolio Management
ตั้งแต่ปี 2008 Ping An มีนโยบายในการนํา 1% ของรายได้ทั้งหมด หรือประมาณ 10% ของกําไรในแต่ละปีใช้เป็นงบประมาณในด้านการทําวิจัยและพัฒนา
ก่อตั้งบริษัท Ping An Technology เพื่อเป็นบริษัทบ่มเพาะ ทางเทคโนโลยี (Technology Incubator) สําหรับ Ping An Group
"การกําหนดจุดมุ่งหมายและทิศทางการทํางานที่ชัดเจนเช่นนี้จะช่วยส่งผลให้ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถนําไป assign งานที่ตนเองและทีมต้องจัดการได้ต่อไป ตลอดจนการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามสิ่งที่ ต้องการจะวัด เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน"
[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
ตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งเกิดวิกฤตทางการเงินไปทั่วโลก และแนวโน้มเรื่อง Disruption ด้วยเหตุนี้ Ping An เริ่มมีการเปลี่ยนจากธุรกิจการเงินแบบดั้งเดิม มาเป็นบริษัทเทคโนโลยี โดยเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร และโมเดลทางธุรกิจทีไม่ได้จำกัดแค่อตุสาหกรรมการเงินแบบเดิม รวมถึง นําการบริหารจัดการแบบ Startup มาใช้สร้างความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจตลอดระยะเวลาทีผ่านมา
ส่งเสริมแนวคิด Agile ด้วยวัฒนธรรม “Can Do” เพื่อสนับสนุนการ สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและประสบความสําเร็จ ซึ่งการที่ผู้คนใน Ping An ยึดแนวคิดว่า Can Do “เราสามารถทําได้” “ฉันสามารถทําให้สิ่งนี้สําเร็จ” เป็นต้น ได้ช่วยสร้างพลังงานเชิงบวก สร้างขวัญกําลังใจ สร้างแรงฮึดสู่ต่อความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลให้ Ping An ผงาดขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่
[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร สร้างความร่วมมือกับทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Financial Services, Health Care, Auto Services, Real Estate Services และ Smart City Services