กรณีศึกษา ปตท. Powering Thailand’s Transformation ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต
ปตท.จะได้กำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวคิด PTT by PTT หรือ Powering Thailand’s Transformation หรือ PTT ที่มุ่งหวังทำให้กลุ่ม ปตท.เป็นองค์กรด้านพลังงานของประเทศไทย ที่พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ทุกภาคส่วน ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของคนไทย
ปตท. ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจรในฐานะเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ โดยมีพันธกิจในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ภายใต้การบริหารจัดการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล การประกอบธุรกิจของ ปตท. เป็นการลงทุนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) จนถึงธุรกิจปลายน้ำ (Downstream)
ธุรกิจของ ปตท. ประกอบด้วย กิจการที่ ปตท. ดําเนินการเอง ได้แก่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน และ ธุรกิจที่ลงทุนผ่านบริษัทย่อย และ/หรือ กิจการทีค่วบคุมร่วมกันและบริษัทร่วม (กลุ่มบริษัท) ได้แก่ ธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจนํ้ามันและค้าปลีก ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการ ธุรกิจถ่านหิน ธุรกิจให้บริการ
ปตท. ได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับสิ่งที่ต้องทำให้อนาคต โดยได้จัดพอร์ตการลงทุนธุรกิจใหม่ใน 6 ได้แก่ ...
ธุรกิจ New Energy ได้เข้าไปลงทุนในบริษัท GRP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ GPSC เพื่อเสริมศักยภาพขยายการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า แตะ 8,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 การสร้างโรงงานต้นแบบผลิตแบตเตอรี่ G-Cell ที่ใช้เทคโนโลยี Semi Solid เซลล์แรกของประเทศไทย กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
อีกทั้งตั้งบริษัทใหม่ๆ ซึ่งปตท.ให้ความสำคัญกับการมีพันธมิตรใหม่ๆและเปิดรับร่วมลงทุนในธุรกิจ เช่น จัดตั้งบริษัท SWAP & GO เป็นธุรกิจเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้กับมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า การตั้งบริษัท ออน-ไอออน โซลูชั่นส์ จำกัด (On-I on Solutions) การพัฒนา EV Changer Platform
ธุรกิจ Life Science แฟลกชิปด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือ “วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต” โดยจัดตั้งบริษัท อินโนบิก (เอเชีย) เพื่อลงทุนธุรกิจ Life Science และได้ตั้งบริษัทลูกชื่อ อินโนบิก แอลแอล โฮลดิ้ง มีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท เพื่อเป็นผู้ลงทุนกับต่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตยารักษามะเร็งแห่งแรกของประเทศไทย
ธุรกิจ High Value Business จะเป็นการผันตัวของธุรกิจปิโตรเคมี ไปเน้นเรื่องของการผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นสเปเชียลตี้ แม้ว่าโควิด-19 ก็กระทบต่อราคาปิโตรเคมี แต่มองว่าในระยะยาวยังเป็นธุรกิจที่มีอนาคต โดยจะเน้นต่อยอดสู่การผลิตสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
ธุรกิจ Logistics & Infrastructure ได้เริ่มจับมือพันธมิตรเข้าร่วมประมูลท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่ช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งทางเรือ ทางบก ระบบราง ที่มีโอกาสเห็นการระดมทุนเพื่อพัฒนาอีกต่อเนื่อง และ ปตท.ก็สนใจที่จะเข้าไปร่วมพัฒนาในโครงการต่างๆ
ธุรกิจ AI & Robotics Digitalization ซึ่งปัจจุบัน ปตท.สผ.ก็มีการจัดตั้งบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) ที่ทำธุรกิจเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ มีการผลิตหุ่นยนต์และโดรน เพื่อเข้ามาเสริมรายได้ทางธุรกิจ รวมถึงจับมือพันธมิตร เข้าไปใช้บริการโรงงานที่ต้องการใช้ดิจิตัลเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
ธุรกิจ Mobility & Lifestyle จะมี บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เป็นหัวหอกหลัก เข้าไปทำเรื่องใหม่ๆ เช่น คลาวด์คิทเชน ก็ได้ร่วมมือกับ LINE MAN จัดตั้งในปั๊มน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ซึ่งเปิดดำเนินการสาขาแรกไปแล้วและจะขยายสาขาต่อไป และเมื่อเร็วๆนี้ OR ก็มีพันธมิตรใหม่ คือ โอ้กะจู๋ เป็นร้านอาหารที่รับกับเทรนด์ธุรกิจใหม่ เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ก็เป็นการผันตัวไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน(non oil) มากขึ้น
ธุรกิจ New S-Curve ของ ปตท.
มีเป้าหมายร่วมกันคือ การมองหาโอกาสการเติบโตทั้งในรูปแบบของการเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพ หรือการวิเคราะห์ตลาดและหาแนวโน้มในการเติบโตในอนาคตเพื่อนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมให้ธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
ExpresSo หรือ Express Solutions Project
ก่อตั้งและเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นการรวมตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของ ปตท. ที่จะเข้าไปค้นหาโอกาสในธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีแนวโน้มจะเติบโตเป็นธุรกิจใหม่ได้ในอนาคตให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. ดำเนินกลยุทธ์ทั้งการหาโอกาสการเติบโตใหม่ทั้งในรูปแบบการลงทุน การจัดตั้งบริษัทขึ้นเอง และการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับผู้อื่น โดยมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
กลุ่มธุรกิจ Corporate Venture Capital หรือ CVC เป็นธุรกิจที่จะค้นหาและเข้าไปลงทุนในกองทุนและสตาร์ทอัพจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น HG Robotics, Baania, Sunfolding ที่มีศักยภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของ ปตท. ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
กลุ่มธุรกิจ Venture Builder หรือ VB เป็นการจัดตั้งโครงการหรือบริษัทเพื่อทดสอบแนวคิดทางธุรกิจ และพัฒนาต้นแบบที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. ตัวอย่างเช่น Renewable Energy Acceleration Platform หรือ ReAcc ธุรกิจแพลตฟอร์มระบบบล็อกเชนเพื่อรองรับธุรกรรมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอย่างครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ที่ช่วยให้บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้เข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน, Swap & Go ธุรกิจให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ, Mekha Tech ธุรกิจให้บริการคลาวด์กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท., Smart Energy Platform: P2P โครงการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างบุคคล โดยร่วมมือกับ Sertis GPSC และ VISTEC
กลุ่มธุรกิจ Venture Partner เพื่อเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ๆ เช่น ร่วมมือกับ Elemental Excelerator องค์กร Nonprofit ด้าน Climate tech, บริษัท พลั๊กแอนด์เพลย์ จำกัด หรือ Plug and Play แพลทฟอร์มนวัตกรรมขององค์กรชั้นนำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อหาโซลูชั่นที่เกี่ยวกับสมาร์ทซิตี้
Booster Project ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 เป็นหน่วยงานที่แสวงหาโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. นอกเหนือจากธุรกิจพลังงาน โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มห่วงโซ่คุณค่าอาหาร (Food Value Chain: FVC) รวมถึงเป็น Incubator (บ่มเพาะธุรกิจ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่สตาร์ทอัพตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไอเดีย ให้เกิดรูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ) และ Accelerator (สนับสนุนสตาร์ทอัพที่เน้นเร่งอัตราการเติบโตและเพิ่มมูลค่าธุรกิจที่มีอยู่แล้ว) เพื่อต่อยอดโครงการนวัตกรรม ของ ปตท. สู่การพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่
Herbal-Based Functional Food การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้น “สมุนไพรไทย”
Smart Green House พัฒนาเทคโนโลยีภายในโรงเรือน ณ วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง ร่วมกับ DENSO
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดของหญ้าหวานและกระชายดำ ร่วมกับ สวทช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ Coffee Chaff โดยร่วมกับสถาบันนวัตกรรม ปตท. (INI) โดยนำเยื่อกาแฟ ซึ่งเหลือจากกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟของโรงคั่วกาแฟคาเฟ่ อเมซอน มาพัฒนาให้เป็นวัสดุในหลากหลายรูปแบบในเชิงพาณิชย์
โครงการ Fishery Technology & Innovation พัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบการจัดการใหม่ ทั้งระบบ IoT (internet of Things) ร่วมกับการจัดทำ mobile application การพัฒนา Platform ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Blockchain การนำข้อมูลที่ได้ไปใช้งานร่วมกับ AI (Artificial Intelligence) ในการออกแบบการผลิตให้เป็นไปความต้องการของตลาดได้ในอนาคต เป็นต้น