กรณีศึกษา SCG ทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยนวัตกรรม Transformation with Innovation

การเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลจึงเป็นการเดินทางที่ต้องเร่งให้เกิดขึ้น เพื่อก้าวข้ามผ่านวิกฤติและรักษาตำแหน่งของเอสซีจีที่ยืนอยู่แถวหน้าของตลาดได้ 

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภาคเอกชนรับรู้ถึงการเกิดเทคโนโลยีดิสรัปชันโดยมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งส่งผลให้ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก ซึ่งเทคโนโลยีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มาเปลี่ยนวิถีชีวิต อาทิ การใช้จ่ายไร้เงินสด การซื้อของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลจึงเป็นการเดินทางที่ต้องเร่งให้เกิดขึ้น เพื่อก้าวข้ามผ่านวิกฤติและรักษาตำแหน่งของเอสซีจีที่ยืนอยู่แถวหน้าของตลาดได้ 

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

ที่ผ่านมาเอสซีจีมองการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเป็นตัวช่วยดำเนินธุรกิจ แต่ในภาพอนาคตต้องการเปลี่ยนผ่านให้ ดิจิทัลเป็นตัวละครหลักในการเสริมศักยภาพของเอสซีจี เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น

3 กลุ่มธุรกิจหลักของ SCG

และ ธุรกิจการลงทุน ภาพรวมธุรกิจการลงทุนของเอสซีจี ดูแลด้านการลงทุนในกิจการต่างๆ ของเอสซีจี ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็น บริษัทร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ Kubota, Yamato Kogyo, Aisin Takaoka Group, Nippon Steel, Toyota Motor เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจการลงทุน เอสซีจี ยังดูแลธุรกิจที่ดินอุตสาหกรรมร่วมกับ Hemaraj Development

แผนทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยนวัตกรรมของ SCG

‘Innovation & Service Solutions’ 

ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมสินค้า และโซลูชันที่ตอบโจทย์สุขอนามัย และสุขภาพที่ดีสำหรับผู้บริโภค (Health & Hygiene) อาทิ 

‘Digital Transformation’ 

ผสานเทคโนโลยีเข้ากับทุกส่วนของธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 

2.   ด้านดิจิทัลสำหรับการผลิต สานต่อการใช้ Industry 4.0 อาทิ

‘Sustainable Development’

มุ่งสร้างสมดุลด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมๆ กับการเติบโตทางธุรกิจตลอดจนเพิ่มคุณค่าอย่างยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งได้นำมาประยุกต์เข้ากับการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 


เติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง 

ด้วยการทรานส์ฟอร์มรับ 3 เมกะเทรนด์ 

ESG ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน 

และโซลูชันรับเทรนด์รักษ์สุขภาพ

ในปี พ.ศ. 2564 เศรษฐกิจทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 

ขณะที่ต้นทุนพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนวิกฤตภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรง


อย่างไรก็ดี เอสซีจีสามารถรักษาการเติบโตได้เป็นที่น่าพอใจ จากการเร่งทรานส์ฟอร์มทุกธุรกิจอย่างต่อเนือง ให้สอดคลองกับ 3 เมกะเทรนด์ ได้แก่ ชู ESG ในการดำเนินธุรกิจใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า ช่วยลดต้นทุนการผลิตและขยายอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นรับเทรนด์การรักษัสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิต

ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ SCG ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้

กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ส่วนหนึ่งจากหนังสือ TRANSFORMER PLAYBOOK ... ดูกรณีศึกษาทั้งหมด ที่นี่