กรณีศึกษา 140 ปี 'ไปรษณีย์ไทย' มุ่งสู่การเป็นผู้นำ E-Commerce Logistics Platform
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 โดยแปลงสภาพมาจากหน่วยงานบริการด้านไปรษณีย์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เดิม
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการส่งจดหมาย บริการรับส่งไปรษณียภัณฑ์ต่าง ๆ จำหน่ายแสตมป์ เป็นรายได้หลัก ภายหลังจึงได้ปรับเปลี่ยนการบริหารและแผนธุรกิจไปรษณีย์อย่างเป็นระบบ โดยแบ่งตลาดการให้บริการออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
1. กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์
2. กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์
3. กลุ่มบริการระหว่างประเทศ
4. กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและการเงิน
ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ 'ไปรษณีย์ไทย' ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้
[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]
การประเมินธุรกิจใหม่
'ไปรษณีย์ไทย' เป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์และบริการ E-Commerce Logistics ครบวงจรด้วยมาตรฐานสากลที่ผู้ใช้บริการไทยนึกถึงในลำดับแรก
[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]
นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
เปลี่ยนจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไปสู่ผู้ให้บริการระบบ E-Commerce Logistics Platform
ขยายบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ E-Commerce และบริการใหม่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุม 4 กลุ่มบริการหลัก ได้แก่ กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ กลุ่มบริการระหว่างประเทศ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและการเงิน
บนพื้นฐานของ Core Business หลัก คือ บริการด้านขนส่งและโลจิสติกส์ การมีเน็ตเวิร์กขนส่งที่ครอบคลุมเป็นใยแมงมุมทั่วประเทศ จากจำนวนที่ทำการไปรษณีย์ ทำหน้าที่ไม่ต่างกับจุดบริการขนส่งและกระจายสินค้ากว่า 5,000 แห่ง ซึ่งกระจายอย่างครอบคลุม จนถึงพื้นที่ห่างไกลในระดับตำบลหรือหมู่บ้าน รวมถึงมีพนักงานนำจ่ายมากกว่า 10,000 คน ถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขนส่ง และยากที่คู่แข่งรายใดในตลาดจะสามารถแข่งขันได้
[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]
ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
ไม่ได้จำกัดว่า ต้องเป็นการขนส่งไปรษณีย์ จดหมายเพียงอย่างเดียว หรือการขายแสตมป์ ในธุรกิจกลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ และกลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์
กลุ่มธุรกิจการเงิน ที่เชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆ ในด้าน FinTech เช่น การให้บริการ E-Wallet ผ่านแอปพลิเคชัน Wallet@Post บริการเก็บเงินปลายทาง หรือ COD (Cash on Delivery) การเป็นพันธมิตรกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในการเป็น Bank Agent เพื่อเป็นตัวแทนในการรับฝากเงินให้ธนาคารต่าง ๆ ในอนาคตอาจจะต่อยอดในการปล่อยสินเชื่อ (Lending) หรือเป็นตัวแทนให้ธุรกิจประกันต่าง ๆ
บริการอื่น ๆ เช่น E-Marketplace ให้ผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนจําหน่ายสินค้าผ่านระบบ E-Commerce ของ ปณท ที่สามารถดําเนินงานได้ครบวงจร ทั้งการจําหน่ายในประเทศและระหว่างประเทศ
[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]
ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน
ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบงานไปรษณีย์แบบดั้งเดิม
[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]
กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์เข้ากับระบบให้บริการไปรษณีย์ให้มีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่
เพิ่มช่องทางรับฝาก ในที่ทำการไปรษณีย์ต่าง ๆ ผ่านระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ (New CA POS)
จัดทำเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน Prompt Post
ระบบ RFID เพื่อสามารถติดตามรถขนส่งไปรษณีย์ได้อัตโนมัติ
ตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ (iBox), ตู้รับฝากไปรษณีย์อัตโนมัติ (Automated Postal Machine: APM), แอปพลิเคชัน Messenger Post ระบบเรียกพนักงานรับส่งสิ่งของเร่งด่วน บริการ Drive Thru Post “ส่งของ...ไม่ต้องลงจากรถ”
นำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในทุกกระบวนการทำงานให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ การใช้เครื่อง Cross Belt Sorter และเครื่อง Mixed Mail Sorter ในศูนย์ไปรษณีย์ เพื่อขับเคลื่อนระบบงาน การรับฝาก-คัดแยก-ส่งต่อ-นำจ่าย ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
พัฒนาระบบส่งต่อและนำจ่าย (Transfer and Delivery: TND) ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถ
ตรวจสอบสถานะสิ่งของได้แบบออนไลน์เรียลไทม์
การให้บริการเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery: COD) ผ่านแอปพลิเคชัน Wallet@Post
ระบบ E-Commerce ของ ปณท สามารถดําเนินงานได้ครบวงจร ทั้งการจําหน่ายในประเทศและระหว่างประเทศ
ฯลฯ
[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]
วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
ตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจไปรษณีย์ตามการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงสถานการณ์การแข่งขัน ในธุรกิจโลจิสติกส์ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรม E-Commerce ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ไปรษณีย์ไทยจึงได้มีการริเริ่มสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลใหม่ ๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อให้องค์กรก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบ E-Commerce Logistics Platform ได้
[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]
ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
ไปรษณีย์ไทยได้ปรับเปลี่ยนองค์กรจาก “ไปรษณียาคาร” เป็น “ไปรษณีย์ 4.0” ในปัจจุบัน มีการออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร กระบวนการ ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบรับกับแผนยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานของ 4 กลุ่มธุรกิจ ครอบคลุมทั้ง E-Commerce, E-Logistics และ E-Payment
ไปรษณีย์ไทยวางแนวทางการดําเนินงานและเป้าหมายที่ต้องการในอนาคต ผ่านยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เพิ่มผลิตภาพและคุณภาพของกระบวนการทํางาน เพื่อยกระดับมาตรฐานบริการที่ลูกค้าพึงพอใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ขยายฐานรายได้ในกลุ่มบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ E-Commerce
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาฐานรายได้สํารองเพื่อสร้างสมดุลให้กับโครงสร้างธุรกิจในระยะยาว
ไปรษณีย์ไทยได้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวทางการดำเนินงาน “The Power” โดยมี 5 มิติ ประกอบด้วย
มิติที่ 1 : Professional Manpower
มิติที่ 2 : Operational Standard
มิติที่ 3 : Wisdom
มิติที่ 4 : Engagement
มิติที่ 5 : Responsive to Innovation
[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
ผู้นำองค์กร ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงาน มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา จากธุรกิจไปรษณีย์แบบดั้งเดิม มาเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์
ปัจจุบันกำลังพัฒนาเพื่อเป็นผู้ให้บริการระบบ E-Commerce Logistics Platform รวมถึงการเป็นผู้ให้บริการใหม่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการบริการด้าน FinTech และ E-Marketplace เพราะความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในพฤติกรรมผู้บริโภค และ โลกธุรกิจ จึงส่งผลให้เราเห็นว่าไปรษณีย์ไทยมีจุดยืนที่แข็งแกร่งดังเช่นทุกวันนี้
[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
พัฒนาบริการร่วมกับพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อพัฒนาบริการใหม่ในกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจปัจจุบัน
ร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนเพื่อจําหน่ายสินค้าผ่านระบบ E-Commerce ของ ปณท
แลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการดําเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตามนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ