กรณีศึกษา ไทยรัฐ กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจจาก “ไทยรัฐ” เป็น “ไทยรัฐออนไลน์” และ “Thairath Logistics"

ไทยรัฐ ในฐานะเจ้าแห่งสื่อหนังสือพิมพ์ นอกจากทรานส์ฟอร์มมาทำธุรกิจสื่อออนไลน์แล้ว ไทยรัฐยังได้ทรานส์ฟอร์มสู่ธุรกิจโลจิสติกส์อีกด้วย

สถานการณ์ 

บริษัท วัชรพล จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อยู่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในขาลง จากมูลค่าของเม็ดเงินโฆษณาของสื่อสิ่งพิมพ์หายไป 

ความท้าทาย

รายได้ธุรกิจเดิมจากหนังสือพิมพ์ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา จนในปี 2562 ผลประกอบการของ บริษัท วัชรพล จำกัด เริ่มมีตัวเลขขาดทุน 

โอกาสในอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์

ในทางกลับกันเม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ได้อานิสงส์จากการที่คนนิยมใช้งานสื่อออนไลน์มากขึ้น 

โอกาสในการสร้าง New Growth

อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเติบโตนั่นก็คือ “ธุรกิจโลจิสติกส์” 

ในปี พ.ศ. 2558 มูลค่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ของไทยเท่ากับ 2.2 ล้านล้านบาท ขณะที่ ปี พ.ศ. 2562 มูลค่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ของไทยเท่ากับ 4.0 ล้านล้านบาท 

ซึ่งเติบโตเกือบเท่าตัวในระยะเวลาเพียง 5 ปี ซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ได้พาให้ธุรกิจหนึ่งโตตามไปด้วย นั่นก็คือ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” 

นอกจากนี้ มูลค่าตลาดของธุรกิจขนส่งพัสดุในปี พ.ศ. 2560–2562 เติบโตกว่า 96% และยังมีแนวโน้มเติบโตอีก 

การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก “ไทยรัฐ” เป็น “ไทยรัฐออนไลน์” และ “Thairath Logistics” เป็นการดำเนินกลยุทธ์ ทั้ง 4 ช่องของ Transformer Map

ช่องที่ 1 : Current [Core Business] + Current [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + ในตลาดปัจจุบันของคุณ

ในส่วนของธุรกิจ ‘หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ’ ได้ใช้กลยุทธ์​ Refocus เพื่อรักษาฐานลูกค้าเฉพาะบางกลุ่มที่ยังสามารถทำรายได้หรือกำไรให้ธุรกิจได้ ควบคู่ไปกับการ Lean เพื่อลดต้นทุนและให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่องที่ 2 : Current [Core Business] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + เข้าสู่ตลาดใหม่

นอกจาก ‘ไทยรัฐออนไลน์’ ไทยรัฐ ยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ 2 แบรนด์ใหม่ MIRROR (มิร์เรอร์) คอนเทนท์สำหรับผู้หญิงยุคใหม่ และ PEEPZ (พีพซ์) คอนเทนท์สำหรับวัยรุ่น สำหรับ 

ช่องที่ 3 : New [Core Business] + Current [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + ในตลาดปัจจุบันของคุณ

นำ AI และ Machine Learning มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น 

ไทยรัฐออนไลน์ ได้นำเอา AI Technology ของ Google cloud ที่ชื่อว่า Vision API และ Auto ML มาใช้ในการวิเคราะห์รูปภาพ เพื่อหาข้อมูลที่สำคัญในรูป และใช้ข้อมูลนั้นในการทำ keyword แบบอัตโนมัติเพื่อช่วยจัดระเบียบคลังข้อมูลและภาพทั้งหมดของเครือไทยรัฐ กรุ๊ปกว่า 10 ล้านรูป จากเดิมที่ต้องใช้บุคคลากรและเวลานานในการทำงาน อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กองบรรณาธิการ สามารถค้นหาภาพ ข่าว เนื้อหาและเอกสารต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ผ่าน Google cloud search และยังมีแผนการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับการค้นหาข่าวในเว็บไซต์อีกด้วย

ผลประกอบการของ บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ผู้ดูแลข้อมูลข่าวในด้านต่างๆ ของไทยรัฐ ผ่านระบบสื่อดิจิทัลในชื่อ “ไทยรัฐออนไลน์” มีแนวโน้มรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี 

การเข้าสู่ธุรกิจขนส่ง Thairath Logistics จึงเป็นอีกการปรับตัวของค่ายสื่อยักษ์ใหญ่ ในสมรภูมิ Technology Disruption ที่ทุกคนต้องหาทางรอดและสร้างโอกาสใหม่ในธุรกิจที่ยังเติบโต 

ช่องที่ 4 : New [Core Business] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + เข้าสู่ตลาดใหม่

ในกรณีของไทยรัฐ บริษัทมีรถบรรทุก 6 ล้อ เป็นรถขนส่งที่ทำความเร็วได้สูงสำหรับขนส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อส่งไปขายยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศอยู่แล้ว บริษัทก็มองว่า รถดังกล่าวสามารถนำมาใช้รับส่งวัสดุไปตามสถานที่ต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ให้แก่เครือไทยรัฐแล้วนั้น ยังเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้คุ้มค่าและ และสร้างรายได้ในธุรกิจใหม่ 

การเข้าสู่ธุรกิจขนส่งของเครือไทยรัฐ เป็นการเข้ามาให้บริการเกาะเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตสูง ซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ได้พาให้ธุรกิจหนึ่งโตตามไปด้วย นั่นก็คือ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” เพราะทุกธุรกิจต้องเข้าสู่การค้าออนไลน์และต้องใช้บริการขนส่ง

ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ 'ไทยรัฐ' ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้

กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ส่วนหนึ่งจากหนังสือ TRANSFORMER PLAYBOOK ... ดูกรณีศึกษาทั้งหมด ที่นี่