กรณีศึกษา Amazon จากร้านหนังสือออนไลน์ สู่การเป็นอันดับหนึ่งด้วย AWS
Amazon เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจจากโอกาสของ Online Commerce โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-centric) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปรัชญา 4 ข้อ ได้แก่
1. Customer obsession rather than competitor focus
2. Passion for invention
3. Commitment to operational excellence
4. Long-term Thinking
ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ Netflix ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้
[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]
การประเมินธุรกิจใหม่
To be Earth's most customer-centric company
[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]
นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
การนำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของ Amazon มีความหลากหลายตามประเภทของ สินค้า บริการ ช่องทางการส่งมอบและจัดจำหน่าย และอุตสาหกรรมการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 8 ข้อเสนอ อ้างอิงจากเอกสารรายงานประจำปี 2019 (2019 Amazon Annual Report)
[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]
ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
Retail Products Sales Margin
Commission on Reseller Sales
Amazon Prime Subscription Fees
Comparison Fees
Transaction Fees
E-Books and Content
Fulfillment & Shipping Fees
Utility Computing Fees
Advertising Fees
Financing
Acquisition and Investment
[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]
ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน
Amazon เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านขายหนังสือออนไลน์
[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]
กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
ระบบการชำระเงินด้วย “1-Click”
ระบบ E-Marketplace ให้ผู้ขายเจ้าอื่นที่ไม่ใช่ Amazon มาขายสินค้าบนเว็บไซต์ของ Amazon.com ได้
ระบบโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มของ Amazon สำหรับผู้ขาย สำนักพิมพ์ ผู้เขียน ฯลฯ
ระบบ Cloud Hosting ภายใต้ชื่อ amazon web services (AWS)
ระบบ Loyalty Program ภายใต้ชื่อ Amazon Prime
ระบบ Kindle สำหรับ E-Book
ระบบ Audiobook
การบริการเปลี่ยนสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และการส่งแบบ Overnight ของ Zappos
ระบบบริการจัดการ Fulfillment Center แบบ Automation ด้วยหุ่นยนต์สำหรับการบริการจัดการโกดังสินค้าของ Kiva System
[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]
วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
1994 : ก่อตั้ง Amazon ร้านขายหนังสือออนไลน์
1999
: นำเสนอรูปแบบการชำระเงินด้วย “1-Click”
: เปิดให้บริการ Marketplace
2003 : เปิดบริการ Web Hosting ภายใต้ชื่อ amazon web services (AWS)
2005 : เปิดบริการ Amazon Prime
2007 : เปิดตัว Kindle ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่าน E-Book
2009
: ซื้อกิจการ Audible
: ซื้อกิจการ Zappos
2012
: ซื้อกิจการ Kiva System 2014
: ซื้อบริษัท Twitch Interactive
2015 : เปิดตัว Echo
2017 : ซื้อกิจการ Whole Foods
[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]
ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
ผู้ก่อตั้ง และ CEO ของ Amazon มักจะกล่าวถึง Amazon ว่า “it remains Day 1” ที่ได้อ้างอิงถึง จดหมายประจำปีถึงผู้ถือหุ้น จากเอกสารรายงานประจำปี 1997 แม้ในเอกสารรายงานประจำปี 2019 ที่ผ่านมาก็ยังกล่าวถึงอยู่ ซึ่งแสดงถึงรากฐานตัวตนขององค์กรอย่าง Amazon ได้เป็นอย่างดี สรุปได้ดังนี้
สร้างโอกาสธุรกิจจากอินเทอร์เน็ต
ดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็วเพื่อแสวงหาโอกาสจากธุรกิจออนไลน์คอมเมิร์ซ
ให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจเพื่อเป้าหมายในระยะยาว ด้วยการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการเป็นผู้นำในตลาด
วัดผลทางธุรกิจจากมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า และการสร้างการเติบโตของรายได้
ลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มและขยายฐานลูกค้า แบรนด์ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของธุรกิจ
สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งจากโครงการที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว
สร้างวัฒนธรรมแบบ “Lean”
ให้ความสำคัญกับการดึงดูดและรักษาพนักงานที่เก่งด้วยการให้ข้อเสนอคือ “สิทธิในการซื้อหุ้น” (Stock Option) มากกว่าการให้ “เงินสด” เพื่อให้พนักงานคิดและทำแบบ “เจ้าของ”
ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการ Transform ในทุกๆจุดขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การบริหารงานทั้งภายในและภายนอก ค่านิยมร่วมกัน ระบบบริหารจัดการสิ่งต่างๆ พนักงานที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเข้าใจองค์กรและมีศักยภาพ ซึ่งนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Amazon ประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำ Digital Transformation
[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
“Day 1” จงทำงานให้เหมือนกับวันแรกที่เข้าทำงาน เพื่อรักษาสปิริตขององค์กรที่เริ่มต้นจากธุรกิจ Startup นั่นคือ มีสิ่งใหม่ ๆ ให้ทดลอง เรียนรู้ ด้วยความกล้าและความอดทน พร้อมยอมรับความล้มเหลว เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการทดลอง กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ทีมงานต้องรับทราบแต่แรกว่า การลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ต้องอดทนกับเสียงวิจารณ์หรือความไม่เข้าใจของบุคคลนอกทีมด้วยเช่นกัน (Having the willingness to be misunderstood)
เพราะไม่เช่นนั้น วันทำงานต่อมาของคุณจะมีสภาพแบบ Day 2 กล่าวคือ บริษัทจะเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่ง ตกต่ำและในที่สุดก็จะตาย
Two-Pizza Team
มีทีมงานขนาดเล็ก ที่คล่องตัว และกล้าล้มเหลว ด้วยแนวคิด Two-Pizza Team กล่าวคือ ทีมที่มีขนาดเหมาะสม ต้องอยู่ในขอบเขตที่สั่งพิซซ่ามา 2 ถาดแล้วเลี้ยงได้ครบทั้งทีม หรือประมาณ 4-10 คนเท่านั้น
ให้ทีมโฟกัสกับงานหลักเพียงเรื่องเดียว (Single-threaded Focus) ทีมงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และมีอิสระในการดำเนินงาน (Self-directed and Autonomous)
[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
Amazon สร้างระบบนิเวศให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค, ผู้ขาย, นักพัฒนาโปรแกรม (Developers), องค์กรต่าง ๆ และผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creators) ฯลฯ