กรณีศึกษา Netflix อันดับ 1 ในการทำ Digital Transformation

Netflix เปลี่ยนจากผู้ส่ง DVDs ทางไปรษณีย์ในปี 1997 เป็นผู้ให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทนต์ ในปี 2007 และก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำในการผลิต Origital Content ในปี 2013 ปัจจุบัน  Netflix กำลังก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเกมส์

ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ Netflix ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้

[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]

การประเมินธุรกิจใหม่

Netflix ต้องการเป็นผู้นำด้านการให้บริการเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Provider)

ในปี 2013 รีด ฮาสติงส์ (Reed Hastings) CEO ของ Netflix ได้เขียนเอกสารถึงพนักงานและนักลงทุนที่มีรายละเอียดส่วนหนึ่งระบุไว้ว่า “Netflix จะต้องเปลี่ยนจากการเป็นแค่ตัวแทนจำหน่ายคอนเทนต์ เป็นผู้นำในการเป็นผู้ผลิต Origital Content ที่สามารถชนะรางวัล Emmys และ Oscars”

[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]

นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ

[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]

ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่

[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]

ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน

ให้บริการเช่าภาพยนตร์ออนไลน์ ตั้งแต่ปี 1998 ด้วย netflix.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับเช่าและขาย DVD แห่งแรก และการบริหารโลจิสติกส์

[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]

กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล

[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]

วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต

[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]

ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล

Netflix ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน ทรัพยากรมนุษย์ โดยเปลี่ยนจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ DVD Inventory เป็นการทำ Streaming Platform ด้วยทีมงานหลักที่เป็นวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ก และข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี เพื่อรองรับการเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

หลักในการ Transform องค์กรที่ทำให้ Netflix ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง นำทีมขับเคลื่อนโดย เจสสิกา นีล (Jessica Neal) ผู้ดำรงตำแหน่ง Chief Talent Officer ได้มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากรอย่างเต็มที่ สะท้อนออกมาถึงความเป็น Netflix ผ่านทางบุคลากรและกระบวนการทำงานต่าง ๆ 

วัฒนธรรมของ Netflix อ่านได้ที่ https://jobs.netflix.com/culture และเอกสารเรื่อง Netflix Culture: Responsibility & Freedom 

[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]

เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile

การนำแนวคิดแบบ Agile มาปรับใช้ในกระบวนการความคิด เพื่อนำไปสู่การลงมือทำจริง ๆ คงจะต้องย้อนกลับไปถึงค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมที่ยึดถือ เพราะส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและการตัดสินใจเสมอ

สำหรับ Netflix แล้ว ค่านิยมหลักขององค์กร ส่งผลให้ Netflix มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง และเป็นตัวกำหนดวิธีคิด หรือ Mindset ที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์และวิธีการทำงานแบบ Agile เพื่อตอบสนองกับโลกและการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดิจิทัลเทคโนโลยี ความต้องการของผู้บริโภคและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความท้าทายและโอกาสใหม่ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที เช่น

ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ชาว Netflix สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงที เพราะมีความคล่องแคล่ว ความกระฉับกระเฉง หรือ Agility สูง ไม่ยึดติดกับสิ่งใด แต่มุ่งทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของ Netflix นั่นเอง

[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]

สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 Netflix ได้เปิดตัว ‘Netflix Games’ หรือเกมลิขสิทธิ์แท้จาก Netflix ประเดิมเปิดตัว 5 เกมแรก ได้แก่ Stranger Things: 1984, Stranger Things 3: The Game, Shooting Hoops, Card Blast และ Teeter Up 

การเปิดตัวล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ผู้ให้บริการสตรีมมิงความบันเทิงยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเกมแล้ว ซึ่งทาง Netflix ได้ระบุว่า บริษัทต้องการออกแบบเกมสำหรับผู้เล่นทุกระดับและทุกประเภท ตั้งแต่มือใหม่ไปจนถึงนักเล่นเกมตัวยง เช่นเดียวกับซีรีส์ ภาพยนตร์ และรายการพิเศษของบริษัทที่มีให้สมาชิกเลือกชมได้ตามความชอบ โดยมีแผนว่าจะเดินหน้าพัฒนาและปรับปรุงเกมเพื่อเพิ่มประสบการณ์และความบันเทิงให้แก่สมาชิกต่อไป

กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ส่วนหนึ่งจากหนังสือ TRANSFORMER PLAYBOOK ... ดูกรณีศึกษาทั้งหมด ที่นี่