กรณีศึกษา RS Group ต้นแบบ ‘Gamechanger’ จากธุรกิจสื่อและบันเทิง สู่ผู้นำธุรกิจด้วยโมเดล Entertainmerce
จากการประความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจเป็นดิจิทัล RS Group ได้รับการยกย่องให้เป็น Digital Transformation (DX) Gamechanger สำหรับประเทศไทย จากงาน IDC Digital Transformation Awards Thailand (DXa) จัดโดย IDC
ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ RS Group ทีละขั้นตอนด้วยเครื่องมือ Digital Transformation Canvas ทั้ง 9 ช่อง ได้ดังนี้
[ ช่องที่ 1 : Define New Core Business ]
การประเมินธุรกิจใหม่
ก้าวสู่การเป็น Entertainmerce อย่างเต็มตัว ประกอบด้วย
สร้างรายได้หลายช่องทางในธุรกิจสื่อและบันเทิง
พัฒนาผลิตภัณท์ของ Lifestar เพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ ด้วยสินค้านวัตกรรมสุขภาพและความงาม ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ที่นอกเหนือจาก RS Mall
การทำ Mergers and Acquisitions (M&A) และ Joint Venture (JV) เพื่อสร้างการเติบโตและขยาย Ecosystem ของ RS Group ให้แข็งแกร่งทันกระแสของโลกธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้าง Synergy และเปิดโอกาสใหม่ ๆ แบบไม่จำกัด
[ ช่องที่ 2 : New Value Proposition ]
นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
Entertainmerce (Entertainment + Commerce)
การเป็นเจ้าของสินค้า มีการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ดีต่อสุขภาพ และความงามของผู้บริโภคที่ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละแพลตฟอร์ม ด้วยสินค้าที่มีความโดดเด่นด้านคุณภาพและมาตรฐานระดับโลก กว่า 200 รายการ
ผนวกกับความแข็งแกร่งทั้งด้าน Entertainment ซึ่งก็คือ การเป็นเจ้าของความบันเทิง คอนเทนต์ และสื่อหลักในมือ เข้ากับ Commerce จากการเข้าสูธุรกิจพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ มีท้ังสินค้าและบริการ รวมถึงการเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง บนทุกแพลตฟอร์ม
[ ช่องที่ 3 : New Business Model ]
ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
โมเดลธุรกิจใหม่ของอาร์เอส มาจาก 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์ หลายช่องทาง ธุรกิจสื่อธุรกิจเพลงและอื่น ๆ ประกอบด้วย
การขายสินค้า
สื่อและโฆษณาผ่านสื่อทีวีและดิจิทัลใหม่ ๆ
โซเชียลมีเดีย
เทเลมาร์เก็ตติง
ดิจิทัลมาร์เก็ตติง
ค่าธรรมเนียมการขายและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
[ ช่องที่ 4 : Existing Digital Capabilities ]
ประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน
การทําธุรกิจสื่อและบันเทิงแบบดั้งเดิม
[ ช่องที่ 5 : New Digital Capabilities ]
กำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
ดําเนินธุรกิจพาณิชย์หลากหลายช่องทาง (Multi-platform Commerce: MPC) มุ่งขยายช่องทางจําหน่ายไปสู่ออนแอร์และออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
พัฒนาช่องทางอีคอมเมิร์ซของตัวเอง เป็นแพลตฟอร์มจําหน่ายสินค้า และบริการที่หลากหลาย ภายใต้ช่อง “RS Mall” มีทั้งที่ลงทุนสร้างเอง เช่น Home Shopping, Direct Sale
Call Center และ ระบบทีมเทเลมาร์เก็ตติง
Big Data เพื่อรู้และเข้าใจพฤติกรรมการซื่อของลูกค้าแต่ละคน เพื่อผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ๆ (New Product) มีระบบการจัดการและ รวบรวมข้อมูลลูกค้าที่มีมากกว่า 1.3 ล้านราย
ระบบการจัดการคลังสินค้า
[ ช่องที่ 6 : Digital Capability Initiative ]
วางแผนและสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลจากปัจจุบันไปสู่อนาคต
พ.ศ. 2557
: สร้างรูปแบบธุรกิจ Media for D2C Commerce ด้วย การเปลี่ยนสื่อที่มีอยู่ เป็นสินค้าโดยตรงถึงผูบ้ริโภค (Direct-to-Consumer Commerce)
: พัฒนาแพลตฟอร์ม Shop1781 (ปัจจุบนัคือ RS Mall)
: สร้างหน่วยงานเทเลมาร์เก็ตติง
: เริ่มดําเนินการจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า
พ.ศ.2560 : จัดทําระบบ Big Data เพื่อรู้และเข้าใจพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ซึ่งมีสว่นสําคัญทําให้ธุรกิจพาณิชย์ เติบโตอย่างมีนยัสําคัญในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2562 : สร้างความได้เปรียบจากการเป็นเจ้าแรก จนกลายมาเป็น ผู้นำในการทําธุรกิจแบบ Media Commerce ด้วยการพัฒนาระบบนิเวศของตน ทั้งธุรกิจต้นนำ้และปลายน้ำ
พ.ศ. 2563 : สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า Entertainmerce เป็น การหลอมรวมระหว่างธุรกิจ Commerce และ Media
[ ช่องที่ 7 : Organisational Transformation ]
ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
อาร์เอส ได้กําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ สอดคล้องกับเป้าหมายการดําเนินธุรกิจใน 5 ปี ข้างหน้า (5-Year Business Direction) ปี 2020-2024 โดยมีภารกิจหลักดังนี้
อาร์เอส เป็นองค์กรที่ทําธุรกิจร่วมกับ “โอกาส” โดยมุ่งเน้นความเป็นผู้นํา และลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนในธุรกิจพาณิชย์ โดยขยายไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน ให้มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของรายได้รวมของบริษัท
Group Synergy เพื่อบูรณาการหน่วยธุรกิจบันเทิงเข้ากับธุรกิจพาณิชย์
ส่งเสริมนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าและบริการช่องทางการจัด จําหน่ายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงการขยายธุรกิจไปยัง ประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม)
ขยายการเติบโตของธุรกิจทั้งแนวกว้างและแนวดิ่ง เพื่อเป็นการ เสริมศักยภาพธุรกิจหลักของบริษทั ตลอดจนการดําเนินการควบ รวมกิจการต่าง ๆ 1-2 ดีล ในแต่ละปี
อาร์เอส มีโครงสร้างองค์กรแบบราบ (Flat Organizational Structure) เพื่อ “ความรวดเร็ว” และ “ความคล่องตัว” ในการทําธุรกิจ
ด้านพนักงาน ในโครงสร้างองค์กรปัจจุบันตําแหน่งงานต่าง ๆ ไม่ได้ เกี่ยวกับอายุมากน้อย สําคัญอยู่ที่ Mindset ว่าเป็นอย่างไร เช่น เป็นคนรักการเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง และทําตัวเป็นนำ้ที่ไม่เต็มแก้ว หรือที่เรียกว่าเป็นคน “Intrend”
[ ช่องที่ 8 : Agile Strategy and Planning ]
เปลี่ยนกลยุทธ์และการทำงานด้วยแนวคิด Agile
เพื่อการอยู่รอดของธุรกิจกลุ่มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในยุคดิจิทัล อาร์เอสเลือกที่จะปรับตัวให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ต่อยอดจากของเดิม
สําหรับการเปลี่ยนกลยุทธ์และการดําเนินงานด้วยแนวคิด Agile เห็นได้ ชัดเจนจากบทสัมภาษณ์ต่าง ๆ ของ นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ หรือ เฮียฮ้อ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำองค์กร
“คุณมีอำนาจเต็มที่ ทํางานตามเป้าหมาย ขอให้รู้ว่าเป้าหมายขององค์กร คืออะไร แล้วเดินหน้า ติดขัดอะไร เฮียซัปพอร์ต เพราะฉะนั้นมันก็ทําให้ องค์กรไปได้เร็ว เจอปัญหาก็ปรับปรุง แก้ไขเร็ว Speed เป็นเรื่องสําคัญมากในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ”
“เฮียฮ้อ” เล่าถึงการทรานส์ฟอร์มองค์กรที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนานอย่าง อาร์เอสว่า ไม่ใช่เรื่องที่ต้องฝืนทํา เพราะมันคือธรรมชาติในแบบที่ตนเองเป็น นั่นคือชอบลงไปดูที่หน้างานด้วยตัวเองมากกว่าที่จะรอรายงานขึ้นมา ซึ่งถือเป็นลักษณะการทํางานทีช่วยเพิ่ม Speed ให้กับองค์กรขนาดใหญ่อย่างอาร์เอสได้ ไม่ต่างกับ องค์กร Startup ขนาดเล็กที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่
“อย่างแรกเลยเอาตัวเฮียก่อน เฮียไม่ใช่ CEO ที่นั่งรอรายงาน หรือ เดือนหนึ่ง ดูงบ ดูแผนของแต่ละ BU แต่เฮียจะเป็นคนที่อยู่กั บงาน อยู่กับทีม ดังนั้น การที่อยู่กับทีม อยู่กับงานทุกวัน มันเหมือนเราส่งต่อ Speed ทําให้องค์กรตื่นตัว ไม่ได้ทำเพราะเราต้องการทํา ทําเพราะมันเป็น คาแร็กเตอร์เรา”
เมื่อภาวะผู้นํา (Leadership) ขององค์กรแข็งแรง มองเห็นโอกาสและ ลงมือทํา อีกทั้งยังมีการสื่อสารที่ชัดเจนกับทุกคนทั่วทั้งองค์กร ทําให้การตระหนักและเข้าใจถึงความสําคัญของการที่ต้องปรับตัว และมองเห็นภาพ ในอนาคตร่วมกันของทุกคน เป็นจุดสําคัญที่ทำให้ RS Mall ประสบความ สําเร็จในการทํา Digital Transformation มากที่สุดองค์กรหนึ่งของไทย
[ ช่องที่ 9 : Building Collaborative Ecosystem ]
สร้างระบบนิเวศใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
เป็นพันธมิตรกับผู้นําอุตสาหกรรมหลายด้าน เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูล ลูกค้าและขยายช่องทางให้เข้าถึงลูกค้าที่หลากหลายและเพิ่มขึ้น อาทิ
กลุ่ม BTS ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ มีผู้โดยสารถึงเกือบ 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน
บริการด้านโลจิสติกส์ที่ครบวงจร ทั้งขนส่งและคลังสินค้า โดย Kerry
เป็นพันธมิตรธุรกิจกับสื่อต่าง ๆ เช่น VGI ผู้นำธุรกิจสื่อ โฆษณานอกบ้าน, ไทยรัฐทีวี,เวิรค์พอยท์ทีวี ฯลฯ