Digital Mindset กับการทำ Digital Transformation สร้างองค์กรให้เติบโตเร็วกว่า 8 เท่า

" องค์กรที่มี Digital Mindset ที่ดี จะมีวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร เกิดผลลัพธ์และ Performance ที่ดี สามารถสร้างการเติบโตมากกว่าองค์กรทั่ว ๆ ไปถึง 8 เท่า "

ค่าเฉลี่ยขององค์กรทั่วไปจะเติบโตเฉลี่ยเพียง 1–2% ต่อปี ดังนั้น ถ้าถามว่าองค์กรที่มี Digital Mindset ที่ดีและเกิดวัฒนธรรมที่ดี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น องค์กรแบบนี้จะเติบโตมากกว่าองค์กรทั่ว ๆ ไปถึง 8 เท่า

สรุปจากหนังสือ The Digital Mindset: What It Really Takes to Thrive in the Age of Data, Algorithms, and AI และบทความจาก Harvard Business Review เขียนโดย Paul Leonardi และ Tsedal Neeley

หนังสือ The Digital Mindset เล่มนี้ออกมาเพื่อตอบโจทย์ว่าวันนี้เราอยู่ในยุค Digital ทุกคนรู้อยู่แล้ว คำถาม คือ แล้วเราจะเริ่มต้นยังไง ทุกคนก็จะบอกว่าทุกอย่างมัน ต้องเริ่มจาก Mindset ที่ดี หรือ “วิธีคิด” ที่ดีก่อน ถ้าจะทำดิจิทัลให้สำเร็จ เราก็ต้องมี Digital Mindset ที่ดี แล้ว Digital Mindset มันคืออะไร ?

ความสำคัญที่เราควรมี Digtial Mindset ที่ดี

ความสำคัญที่เราควรมี Digtial Mindset ที่ดี ทุกวันนี้ วิธีการทำงานหรือวิธีการใช้ชีวิตของเราแทบจะไม่สามารถ Disconnected เราใช้ Digital และ Technology ในการที่ต้องใช้ใน Data ต่าง ๆ มาช่วยทำให้ Data ถูกจัดเก็บ ส่งต่อ และแลกเปลี่ยนกันอย่างรวดเร็วได้ นั่นคือ ปัจจุบัน Digital ได้มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตและการทำงาน

ไม่มี Digital Mindset และไม่ต้องใช้ Digital ได้หรือไม่ ?

ในยุคนี้ ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยน หรือทรานส์ฟอร์มองค์กรไม่ทัน และไม่ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์และสร้างความแตกต่างขององค์กรคุณได้ คุณกำลังไม่ได้สร้างอะไรใหม่ ๆ ในตัวคุณและในองค์กรคุณเอง

สิ่งสำคัญก็คือ ถ้าคุณไม่เปลี่ยนโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ในองค์กรทุนไม่พูดถึงการเร่งในเรื่องของการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้เกิดขึ้น โดยเฉลี่ยองค์กรทั่วโลกจะถูก Disrupted ไม่เกิน 10–15 ปีต่อจากนี้

เราจำเป็นต้องรู้วิธีการเขียนโค้ด Coding หรือ เขียนโปรแกรมมิ่ง Programing หรือไม่ ?

กฎ 30 เปอร์เซ็นต์ (30 Percent Rule) คือ สิ่งที่คุณจะต้องรู้ในการใช้ชีวิต จากผลการวิจัยพบว่า ต้องรู้เพียง 30% พอแล้ว 30% นี้มันจะครอบคลุมสิ่งที่เราควรจะต้องรู้เท่าทัน รู้แล้วว่ามันคืออะไร

Digital Mindset คืออะไร ?

มี 2 คำ คือคำว่า Digital กับ Mindset 

Digital คือ การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง Data กับ Technology 

Mindset คือ วิธีคิดที่เรามองโลก 

ทุกคนสามารถมี Digital Mindset ที่ดี

ทุกคนสามารถทำได้ โดยเริ่มต้นจากการเข้าใจว่า Mindset คืออะไร คือวิธีการที่เราคิดมองโลกที่เป็นเปลี่ยนแปลงไป โดยการใช้ Data และ Technology

เมื่อเราเข้าใจในการนำ Data และ Technology มาใช้ให้เกิดประโยชน์มันก็จะเกิดทัศนคติและพฤติกรรมที่จะช่วยทำให้เกิดโอกาสการสร้างใหม่ ๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต วิถีการทำงานในองค์กร ก็จะช่วยให้คุณพัฒนา Mindset ใหม่ ๆ 

การมี Digital Mindset ที่ดีหมายความว่า

ความต่างระหว่างองค์กรที่มี Digital Mindset ที่ดี

องค์กรที่มี Digital Mindset ที่ดี ก็คือคนที่มี Digital Mindset ที่ดี และเกิดวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือองค์กรนั้นก็จะมี ผลลัพธ์ และ Performance ที่ดีด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยขององค์กรทั่วไปจะเติบโตเฉลี่ยเพียง 1–2% ต่อปี ดังนั้น ถ้าถามว่าองค์กรที่มี Digital Mindset ที่ดีและเกิดวัฒนธรรมที่ดี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ องค์กรแบบนี้จะเติบโตมากกว่าองค์กรทั่ว ๆ ไปถึง 8 เท่า

Digital Mindset ที่ดี จะช่วยทำ Digital Transformation ให้ดียิ่งขึ้น

องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation เป็นองค์กรที่มี Digital Mindset ที่ดี อ่านตัวอย่างกรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจระดับโลกและของไทย ได้ที่นี่

เมื่อคนในองค์กรมี Digital Mindset ที่ดี จะช่วยขับเคลื่อนการทำ Digital Transformation ทุกระดับทั่วทั้งองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ครอบคลุมทั้ง 9 ช่อง ของ Digital Transformation Canvas โมเดลการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทั้ง 9 ช่อง ดังนี้

ส่วนที่ 1 : ตั้งหลักทรานส์ฟอร์ม ในช่องที่ 1–3

ส่วนที่ 2 : การกำหนดขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล ในช่องที่ 4–6

ส่วนที่ 3 : Transformation In Action

บทความแนะนำ

โปรแกรม SIGNATURE สำหรับผู้บริหาร

OUR SERVICE

Accelerate the shift to digital business into reality and create sustainable growth.

More on Consulting & Co-Creation >>

Use our platform to launch business transformation on the best journey to success.

More on Transformation Platform >>

Learn how to transform your business from getting started to creating your own success.

More on Executive Training Programs >>