SMART CITY TRANSFORMATION

ทรานส์ฟอร์มสู่เมืองอัจฉริยะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองอย่างยั่งยืน

โครงการสำหรับการสร้างเมืองอัจฉริยะจะมีการลงทุนต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จากปี ค.ศ. 2021 ที่มีมูลค่าการลงทุนราว 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะเพิ่มขึ้นเป็น 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2026

"Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ มีการให้คำนิยามมากมาย กล่าวโดยสรุป คือ เมืองอัจฉริยะ เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อทรานส์ฟอร์มให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ผู้เขียนหนังสือ TRANSFORMER PLAYBOOK และ ผู้ก่อตั้งสถาบัน DIGITAL TRANSFORMATION ACADEMY 

SMART CITY คืออะไร?

เมืองอัจฉริยะเป็นมากกว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 

เมืองอัจฉริยะ เป็นสถานที่ที่ทำให้เครือข่ายและบริการแบบดั้งเดิมมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้โซลูชันดิจิทัลเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยและธุรกิจ

เมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองต่างๆ ใช้โซลูชันทางเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการจัดการและประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมในเมือง เพื่อการใช้ทรัพยากรที่ดีขึ้นและปล่อยมลพิษน้อยลง มีบริหารเครือข่ายการคมนาคมในเมืองที่ชาญฉลาดขึ้น มีการปรับปรุงระบบประปาและการกำจัดของเสีย และวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการส่องสว่างและการจัดการความร้อนในอาคาร 

นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารเมืองที่มีการโต้ตอบและตอบสนองพลเมืองมากขึ้น มีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของประชากรสูงอายุ

ที่มา: คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)

มาตรฐาน ISO 37122:2019 ได้ระบุและกำหนดคำจำกัดความและวิธีการสำหรับชุดตัวบ่งชี้สำหรับเมืองอัจฉริยะเพื่อการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งมาตรฐานนี้มีส่วนสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ในมิติทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อีกด้วย 

ที่มา: International Organization for Standardization (ISO)

จากรายงานการวิจัย SMART CITIES: MARKET FORECASTS, KEY TECHNOLOGIES & ENVIRONMENTAL IMPACT 2022-2026 ของ Juniper Research ได้ศึกษาเมืองต่างๆ ทั่วโลก และจัดอันดับ 50 เมืองอัจฉริยะทั่วโลกที่มีนวัตกรรมดีที่สุดในโลก โดยเมือง เซี่ยงไฮ้ โซล บาร์เซโลน่า ปักกิ่ง และ นิวยอร์ก ได้รับการจัดอันดับที่ 1 - 5 ตามลำดับ 


การพิจารณาประเมินในหลายแง่มุมของเมืองอัจฉริยะครอบคลุมในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดการเมืองและเทคโนโลยี ความสามารถในการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ การคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานและแสงสว่าง และการเชื่อมต่อในเมือง 

IMD และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design - SUTD) ร่วมมือสร้าง ดัชนีเมืองอัจฉริยะ IMD-SUTD Smart City Index (SCI) เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นที่สมดุลใน “มิติด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี” และ "มิติด้านมนุษยธรรม" ของเมืองอัจฉริยะ (คุณภาพของ ชีวิต สิ่งแวดล้อม ความเป็นหนึ่งเดียวกัน)


โดย 10 อันดับเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ 1. สิงคโปร์ 2. ซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 3. ออสโล ประเทศนอร์เวย์ 4. ไทเป ประเทศไต้หวัน 5. โลซาน  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 6. เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ 7. โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก 8. เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 9. โอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ 10. บิลบาโอ ประเทศสเปน ส่วนกรุงเทพฯ ประเทศไทย อยู่อันดับ 76  

SMART CITY TRANSFORMATION

เทคโนโลยีทรานส์ฟอร์มสู่ เมืองอัจฉริยะ

เมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ที่เติบโตเต็มที่มักจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและนวัตกรรม ดึงดูดธุรกิจ และทำให้เมืองดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา: หนังสือ Smart Cities For Dummies เขียนโดย Jonathan Reichental, PhD

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ของเมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วย


การเชื่อมต่อบรอดแบนด์และเครือข่ายการไร้สายที่หลากหลาย: เพื่อให้ประชาชนสามารถเชื่อมต่อและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากได้ทุกที่ทุกเวลา


โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย: อุปกรณ์สำหรับการย้ายข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายที่หลากหลาย เช่น Wi-Fi และเชื่อมต่อทั้งผู้คนและสิ่งของ


ศูนย์ข้อมูล: สิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดการเครือข่าย การจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผล ทั้งในพื้นที่จริงหรือให้บริการด้วยคลาวด์คอมพิวติ้ง 


แพลตฟอร์มและแอปพลิเคชั่น: มีระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับการพัฒนา ปรับใช้ และสนับสนุนโซลูชันบริการต่าง ๆ 


Internet of Things (IoT): อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ยานพาหนะ ฯฯ ทั้งหมดสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและแลกเปลี่ยนข้อมูลและคำแนะนำระหว่างกันได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

6 หลักสูตรใหม่ CERTIFIED IN-HOUSE TRAINING PROGRAMS ประจำปี 2023